ข้อมูลทั่วไป

ส่วนที่ 1
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1.ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านชุมชนตำบล
- เทศบาลตำบลบางนมโคตั้งอยู่ในเขตอำเภอเสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับการยกฐานะสภาตําบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบางนมโคตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538 และเปลี่ยนฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบลบางนมโคเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2550 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 26 มิถุนายน 2550 มีพื้นที่ 13.31 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 8,318..75 ไร่ อาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ตำบลบ้านแพน อำเภอเสนา/ ตำบลน้ำเต้า อำเภอบางบาล
ทิศใต้ ตำบลสามตุ่ม อำเภอเสนา
ทิศตะวันออก ตำบลบางยี่โท และตำบลช่างเหล็ก อำเภอบางไทร
ตะวันตก ตำบลสามกอ ตำบลบ้านหลวง อำเภอเสนา
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
- ลักษณะภูมิประเทศเป็นเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมทุกปีทางตอนเหนือจรดแม่น้ำน้อย ทางตอนกลาง และตอนใต้ที่ตั้งขนานไปกับคลองขนมจีนซึ่งแยกมาจากแม่น้ำน้อย
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
- ตำบลบางนมโคจะร้อนมากอุณหภูมิประมาณ 3 3 ถึง 36 องศาเซลเซียสฝนจะตกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมและในฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 18 องศาเซลเซียส
1.4 ลักษณะของดิน
- เป็นดินเหนียวปนดินทราย
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
- มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหนผ่าน ได้แก่ แม่น้ำน้อย
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
- ในพื้นที่ไม่มีเขตป่าไม้
2.ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง ตำบลบางนมโคประกอบด้วยจำนวนหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน
นางเพลินพิศ เทียนบูชา กำนันตำบลบางนมโค
นายศรัณ ทรงไตรย์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1
นายพีรสันต์ ลวดลาย ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2
นายสุรชัย ทรงลำเจียก ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3
นายประสิทธิ์ เรืองเดช ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4
นายสมยศ เรืองเดช ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5
นางสาวนิภา เกตุปราชญ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7
นายสุกิจ กิจนาวี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8
นายภิเชษฐ เกตุจำปา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9
นายชิตณรงค์ ชำนาญศิลป์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10
นายสมชาย ศุภผล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 11
2.2 การเลือกตั้ง การจัดองค์กรเทศบาล ประกอบด้วย
1. สภาเทศบาล ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลแบ่งเป็น 2 เขตเลือกตั้งจำนวน 12 คน ซึ่งเลือกโดยราษฎรผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปีและสภาเทศบาลมีประธานสภาคนหนึ่งและรองประธานสภาคนหนึ่ง ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของเทศบาล ปัจจุบันสภาเทศบาลตำบลบางนมโคประกอบด้วย
นายธนู เรืองเดช ประธานสภาทศบาล
นางลัดดาวัลย์ สนเอี่ยม รองประธานสภาเทศบาล
นายประเสริฐ ทรัพย์พานิช สมาชิกสภาเทศบาล เขต 1
นายไพรินทร์ สัยยะนิฐี สมาชิกสภาเทศบาล เขต 1
นายประชา สุวรส สมาชิกสภาเทศบาล เขต 1
นายประดับ ทรงมะลิ สมาชิกสภาเทศบาล เขต 1
นายสุรินทร์ ธนะสันต์ สมาชิกสภาเทศบาล เขต 2
ร้อยตำรวจเอกสุเทพ โตสูง สมาชิกสภาเทศบาล เขต 2
นายปัญญา กลิ่นหอม สมาชิกสภาเทศบาล เขต 2
นายสุทีป เกตุจำปา สมาชิกสภาเทศบาล เขต 2
นายประทุม ธนะนาม สมาชิกสภาเทศบาล เขต 2
นายมาโนช ศุภผล สมาชิกสภาเทศบาล เขต 2
นางธัญจิรา โทนมี เลขานุการสภาเทศบาล
2.นายกเทศมนตรี ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารเทศบาล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนและนายกเทศมนตรีแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีที่มิใช่สภาเทศบาลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาลตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย จำนวน 2 คน ปัจจุบันคณะผู้บริหารเทศบาลประกอบด้วย
นายวิทยา กิจลำมี นายกเทศมนตรีตำบลบางนมโค
นางวาสนา ไตรถวิล รองนายกเทศมนตรีตำบลบางนมโค
นายวิเชียร ทรงลำเจียก รองนายกเทศมนตรีตำบลบางนมโค
นายปรีชา ฉายรัศมี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตำบลบางนมโค
นายเซ้ง ทองเหลือง เลขานุการนายกเทศมนตรีตำบลบางนมโค
3.ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
หมู่ที่ |
ชื่อบ้าน |
จำนวนประชากร |
จำนวนหลังคาครัวเรือน |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
|||
1 |
บ้านล่าง |
134 |
158 |
292 |
202 |
2 |
บ้านเหนือวัด |
249 |
246 |
495 |
242 |
3 |
บ้านหัวไผ่ |
374 |
439 |
813 |
495 |
4 |
บ้านคลองมอญ |
231 |
257 |
488 |
284 |
5 |
บ้านกระทุ่ม |
369 |
430 |
799 |
582 |
6 |
บ้านสุธาโภชน์ |
239 |
252 |
491 |
185 |
7 |
บ้านคลองขวาง |
199 |
217 |
416 |
166 |
8 |
บ้านเก่า |
144 |
161 |
305 |
83 |
9 |
บ้านต้นตาล |
450 |
509 |
959 |
376 |
10 |
บ้านเกาะกลาง |
395 |
415 |
810 |
227 |
11 |
บ้านแพนพัฒนา |
783 |
945 |
1,728 |
1,300 |
รวม |
3,567 |
4,029 |
7,596 |
4,142 |
ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2564
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร ประชากรในเขตเทศบาลตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แบ่งเป็น
ประชากร |
ชาย (คน) |
หญิง (คน) |
รวม (คน) |
หมายเหตุ |
เยาวชน |
791 |
770 |
1,561 |
อายุต่ำกว่า 18 ปี |
ผู้ใหญ่ |
2,267 |
2,574 |
4,841 |
อายุ 18 – 60 ปี |
ผู้สูงอายุ |
511 |
673 |
1,184 |
อายุมากกว่า 60 ปี |
รวมทั้งสิ้น |
3,569 |
4,017 |
7,586 |
|
4.สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
- เทศบาลตำบลบางนมโคได้รับการถ่ายโอนด้านการศึกษาจากกระทรวงศึกษาในปี 2549 จำนวน 1 โรงเรียน และในปี 2551 จำนวน 2 โรงเรียน ทำให้เทศบาลตำบลบางนมโคมีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด ดังนี้
1.โรงเรียนเทศบาลวัดบางนมโค (ปานอุทิศ) เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6
2.โรงเรียนเทศบาลวัดสุธาโภชน์ (ไวทย์วรวิทย์) เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3
3.โรงเรียนเทศบาลวัดมารวิชัย (เกษมปกาษิตอนุสรณ์) เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ปีที่ 3
4.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลวัดบางนมโครับเด็กเตรียมอนุบาลอายุตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป
5.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลวัดสุทธาโภชน์รับเด็กเตรียมอนุบาลอายุ 3 ขวบขึ้นไป
6.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลวัดมารวิชัยรับเด็กเตรียมอนุบาลตั้งแต่อายุ 3 ขวบขึ้นไป
7.ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง
8.ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน จำนวน 1 แห่ง
9.ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน 3 แห่ง
4.2 สาธารณสุข
1.สถานีอนามัยตำบล จำนวน 1 แห่ง
2.ศูนย์บริการสุขภาพชุมชน จำนวน 1 แห่ง
3.โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง
4.ศูนย์ข้อมูลสาธารณะมูลฐาน จำนวน 11 แห่ง
5.ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 5 แห่ง
6.กลุ่มแพทย์แผนไทย จำนวน 1 แห่ง
7.อัตรามีส้วมและใช้ส้วมนั่งราด ร้อยละ 100
4.3อาชญากรรม
- ไม่มีอาชญากรรม
4.4 ยาเสพติด
- ปัญหายาเสพติดมีพื้นที่เฝ้าระวังบ้านต้นตาลหมู่ที่ 9 และบ้านแผนพัฒนาหมู่ที่ 11 เนื่องจากมีประชากรค่อนข้างหนาแน่นและเป็นประชากรแฝง การแก้ไขปัญหาสามารถทำได้ตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การรณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ก็เป็นอยู่ในอำนาจหน้าที่ของอำเภอสถานีตำรวจแล้วแต่กรณี
4.5 การสังคมสงเคราะห์ ได้ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ดังนี้
1.การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์
2.การรับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
3.การประสานการทำบัตรผู้พิการ
4.โครงการสงเคราะห์ครอบครัวผู้ด้อยโอกาสผู้ยากไร้ผู้พิการผู้ยากจน
5.ระบบบริการพื้นฐาน
5.ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
- ถนนทางหลวงแผ่นดินสายอยุธยา – สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 3263) ผ่านเขตเทศบาลตำบลบางนมโค
- ถนนทางหลวงแผ่นดิน สายเสนา- สามโคก – ปทุมธานี (ทางหลวงหมายเลข 3111) ผ่านเขตเทศบาลตำบลบางนมโค
- ถนนทางหลวงท้องถิ่นสายบ้านกระทุ่ม – คู้สลอด ระยะทาง 18 กิโลเมตร
- ถนนทางหลวงท้องถิ่นสายน้ำเต้า – บางซ้าย ผ่านเทศบาลตำบลบางนมโค ระยะทาง 6 กิโลเมตร
5.2 การไฟฟ้า
- มีระบบไฟฟ้าครอบคลุมทุกหมู่บ้านจำนวน 3,134 ครัวเรือน
5.3 การประปา
- ประปาหมู่บ้าน จำนวน 11 แห่ง
- บ่อน้ำบาดาล จำนวน 5 แห่ง
- ถังน้ำประปา จำนวน 5 ถัง
- ระบบการบริหารประปาภูมิภาค จำนวน 15 กิโลเมตร
5.4 โทรศัพท์
- จำนวนโทรศัพท์ สาธารณะในเขตพื้นที่ จำนวน 12 หมายเลข
- จำนวนโทรศัพท์ส่วนบุคคล
- จำนวนชุมสายโทรศัพท์ จำนวน 1 ชุมสาย
- หอกระจายข่าวในพื้นที่ให้บริการได้ควบคุมร้อยละ 70 ของพื้นที่ความรับผิดชอบ
- สถานีวิทยุชุมชน จำนวน 1 แห่ง
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่งและวัสดุครุภัณฑ์
- มีตู้ไปรษณีย์จำนวน 2 ตู้
6.ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
- ราษฎรบางส่วนประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังนี้ ทำนา จำนวน 2,917 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 900 กิโลกรัมต่อไร่และทำสวน จำนวน 147 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 20 กิโลกรัมต่อไร่
6.2 การประมง
- การเลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำน้อย ได้แก่ ปลาทับทิม ปลานิล ปลาดุก ปลาช่อนและปลาแรด
6.3 การปศุสัตว์
- เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น เลี้ยงไก่ พื้นเมือง จำนวน 330 ตัวผลผลิตเฉลี่ย 1.5 กิโลกรัมต่อตัว
6.4 การบริการ
- ร้านทอง ร้านอัญมณี จำนวน 3 แห่ง
- ร้านค้า จำนวน 232 แห่ง
- ร้านอาหาร จำนวน 13 แห่ง
- กลุ่มบ้านจัดสรร จำนวน 6 แห่ง
- โรงแรม/บังกะโล จำนวน 5 แห่ง
- ธุรกิจนวดแผนโบราณสถานบันเทิง จำนวน 3 แห่ง
- ธุรกิจบ้านเช่า จำนวน 75 แห่ง
6.5 การท่องเที่ยว
- ภายในเขตเทศบาลตำบลบางนมโคมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปคือ วัดบางนมโค ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ติดถนนสายอยุธยา - สุพรรณบุรี ซึ่งทางวัดจะร่วมกับเทศบาลตำบลบางนมโคจัดงานประจำปีและมีบุคคลทั่วไปทั้งในเขตอำเภอเสนาต่างอำเภอและจากจังหวัดใกล้เคียงมาเที่ยวและสักการะหลวงพ่อปานวัดบางนมโคทุกปี
6.6 อุตสาหกรรม
- สวนอุตสาหกรรมบ้านแพน จำนวน 1 แห่ง
- โรงงาน จำนวน 3 แห่ง
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
- สถานีบริการน้ำมันและแก๊ส จำนวน 5 แห่ง
- ธุรกิจบ่อทราย จำนวน 1 แห่ง
- ธุรกิจบ่อดิน จำนวน 1 แห่ง
- ธุรกิจลานตากข้าวและรับซื้อข้าวเปลือก จำนวน 1 แห่ง
- ธุรกิจขายวัสดุก่อสร้าง จำนวน 1 แห่ง
6.8 แรงงาน
- ราษฎรบางส่วนประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้แก่ปลูกข้าวและบางส่วนประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง
7.เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ
7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน
หมู่ที่ |
ชื่อบ้าน |
จำนวนประชากร |
จำนวนหลังคาครัวเรือน |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
|||
1 |
บ้านล่าง |
134 |
157 |
291 |
202 |
2 |
บ้านเหนือวัด |
251 |
246 |
497 |
242 |
3 |
บ้านหัวไผ่ |
376 |
440 |
816 |
495 |
4 |
บ้านคลองมอญ |
229 |
256 |
485 |
284 |
5 |
บ้านกระทุ่ม |
368 |
430 |
798 |
581 |
6 |
บ้านสุธาโภชน์ |
239 |
251 |
490 |
185 |
7 |
บ้านคลองขวาง |
198 |
218 |
416 |
166 |
8 |
บ้านเก่า |
145 |
161 |
306 |
83 |
9 |
บ้านต้นตาล |
454 |
508 |
962 |
376 |
10 |
บ้านเกาะกลาง |
396 |
415 |
811 |
227 |
11 |
บ้านแพนพัฒนา |
779 |
942 |
1,721 |
1,229 |
รวม |
3,575 |
4,003 |
7,608 |
4,142 |
- ข้อมูล ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564
7.2 ข้อมูลด้านการเกษตร
- เกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ทำนาในเขตชลประทานจำนวน 273 ครัวเรือน จำนวน 2,917 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 900 กิโลกรัมต่อไร่
7.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
- มีแหล่งน้ำธรรมชาติได้แก่ แม่น้ำน้อย คลองขนมจีน คลองทานตะวัน คลองขวาง ลำรางชะโด และคลองมอญ
7.4 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกินน้ำใช้หรือน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค
- ประปาหมู่บ้าน จำนวน 11 แห่ง
- บ่อน้ำบาดาล จำนวน 5 แห่ง
- ถังน้ำประปา จำนวน 5 ถัง
- ระบบการบริหารประปาภูมิภาค จำนวน 15 กิโลเมตร
8.ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8.1 การนับถือศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลบางนมโคนับถือศาสนาพุทธ
- วัด จำนวน 3 แห่ง คือ วัดมารวิชัย วัดสุทธาโภชน์ วัดบางนมโค
- ศาลเจ้า จำนวน 2 แห่ง
- ฌาปนกิจสถาน จำนวน 3 แห่ง
- สมาคมมูลนิธิ จำนวน 1 แห่งคือ มูลนิธิหน่วยกู้ภัยอยุธยา
8.2 ประเพณีและงานประจำปี
1. ประเพณีวันขึ้นปีใหม่กำหนดในวันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันเริ่มต้นของปีใหม่เพื่อเป็นการทำนุบำรุงรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม โดยพุทธศาสนิกชนร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุ สามเณร บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลบางนมโค
2.จัดงานประเพณีสงกรานต์และวันผู้สูงอายุกำหนดในเดือนเมษายนของทุกปีเพื่อการ สื่อสารธรรมเนียมประเพณีของประชาชน ชาวไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไม่ให้สูญหายไปอีกทั้งเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนและประชาชนรุ่นหลังสืบทอดประเพณีต่อไปโดยจัดให้มีการแห่ นางสงกรานต์ ทำบุญตักบาตรรดน้ำดำหัวผู้ สูงอายุการแสดงดนตรี เป็นต้น บริเวณสำนักงานเทศบาลตำบลบางนมโค
3. การจัดงานบูชาแม่พระโพสพกำหนดในเดือนเมษายนของทุกปีเพื่อเป็นการระลึกถึงและ บูชาพระแม่โพสพในการให้ข้าวของชาวนาเจริญงอกงาม เก็บเกี่ยวได้ตามฤดูกาลและระลึกถึงพระคุณของข้าวและความสำคัญของเกษตรกรที่ปลูกข้าว
4. การจัดงานประเพณีลอยกระทงโดยถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ของทุกปีเป็นวันลอยกระทงเพื่อฟื้นฟูส่งเสริมสุขทอดและรักษาประเพณีอันดีงามของชาวไทย ของทุกปีเป็นวันลอยกระทงเพื่อฟื้นฟูส่งเสริมสุขทอดและรักษาประเพณีอันดีงามของชาวไทยการประกวด การประกวดนางนพมาศ และ หนูน้อยนพมาศ ประกวดกระทงสวยงามการแสดงดนตรีเป็นต้นจัดขึ้น ณ บริเวณหน้าวัดมารวิชัยที่ 9
8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
- ไม่มี
8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
- สินค้า OTOP ได้แก่ เครื่องจักสาน เรือจิ๋วจำลอง เมี่ยงคำ
9.ทรัพยากรธรรมชาติ
9.1 น้ำ
- แหล่งน้ำธรรมชาติได้แก่ แม่น้ำน้อย คลองขนมจีน คลองทานตะวัน และคลองขวาง
9.2 ป่าไม้และภูเขา
- ไม่มี
